ข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนการระบาดศัตรูพืช

แจ้งเตือนเกษตรกร

 

“เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล”

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงปากดูด ใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหาร บริเวณกาบใบข้าว โคนต้นข้าวที่อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อย หรือที่เส้นกลางหลังใบข้าว สามารถทำลายต้นข้าวในทุกระยะของการเจริญเติบโต เช่น ระยะกล้า ระยะแตกกอ ระยะออกรวง ตั้งแต่ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัยสามารถทำลายต้นข้าวได้อย่างรุนแรง ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองเหี่ยวแล้วแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่คล้าย “น้ำร้อนลวก” หรือ “hopper burn” ต้นข้าวหรือต้นกล้ากำลังแตกกอที่ถูกทำลายจะแห้งตาย ต้นข้าวที่ออกรวงแล้วจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบาล้มง่ายนอกจากการทำลายข้าวโดยตรงแล้ว แมลงนี้ยังเป็นพาหะนำโรคใบหงิกและโรคเขียวเตี้ยมาสู่ต้นข้าว เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก

การป้องกันกำจัด

  1. ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน เช่น กข6 กข31 กข41 กข47 พิษณุโลก2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
  2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ของระบบนิเวศน์ในแปลงนานำมาวิเคราะห์ ตัดสินใจด้วยตนเองในการจัดการแปลงจากสถานการณ์จริง
  3. ในแหล่งที่มีการระบาดและควบคุมระดับน้ำในนาได้หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยวผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไปจะช่วยลดการระบาดได้
  4. ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และควรฉีดพ่นในเวลาเย็น

สารเคมีที่แนะนำให้ใช้

  1. ข้าวระยะกล้าถึงแตกกอ (อายุ 30-45 วัน)
  2. ข้าวระยะแตกกอเต็มที่
  • อีโทเฟนพร๊อกซ์ –คาร์โบซิลเฟน –ฟีโนบูคาร์บ -ไฮโซโปรคาร์บ
  1. ข้าวระยะตั้งท้องถึงออกรวง

-ไดโนทีฟูแรน –ไทอะมีโทแซม –โคลไทอะนิดิน

-อิมิดาโคลพริด -อีทีโพรล

หากเกษตรกรท่านใดต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสวรรคโลก หรือกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย โทร 0 5562 0481 ต่อ 105

 

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น