ประวัติอำเภอคีรีมาศ

  

ประวัติความเป็นมา

       เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.  ๒๔๘๐ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะท้องที่ ตำบลโตนด ตำบลทุ่งหลวง ตำบลสามพวง และตำบลศรีคีรีมาศ ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ  เรียกว่า “กิ่งอำเภอศรีคีรีมาศ” การปกครองขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีคีรีมาศ โดยจัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๔ ตำบล ๓๐ หมู่บ้าน ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๘๑ ทางราชการได้โอนหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีคีรีมาศ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไปอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ ๑ ตำบลโตนด ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยปรับปรุงตำบล หมู่บ้าน แบ่งแยกตำบลทุ่งหลวงออกเป็นอีกตำบลหนึ่งเรียกว่า ตำบลบ้านป้อม ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอศรีคีรีมาศ และเปลี่ยนนามกิ่งอำเภอศรีคีรีมาศ เป็น “กิ่งอำเภอคีรีมาศ” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ กิ่งอำเภอคีรีมาศ ก็ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอคีรีมาศ” โดยมีนายอรุณ พุ่มสวัสดิ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๙ และในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยปรับปรุงตำบลหมู่บ้านแบ่งแยกตำบลสามพวงออกเป็นอีกตำบลหนึ่งเรียกว่า “ตำบลหนองจิก” และเมื่อวันที่ ๑ เมษายน  ๒๕๒๔ แบ่งแยกตำบลบ้านป้อมออกเป็นอีกตำบลหนึ่งเรียกว่า “ตำบลนาเชิงคีรี” และในปี ๒๕๒๖ แบ่งแยกตำบลโตนดออกเป็นอีกตำบลหนึ่ง เรียกว่า “ตำบลหนองกระดิ่ง” อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอคีรีมาศ

       ภูมิศาสตร์

       ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอคีรีมาศ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลโตนด มีอาณาเขต ดังนี้

       ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

       ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย และอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

       ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอกงไกรลาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

       ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 

 

ลำน้ำที่สำคัญ คือ ในเขตอำเภอคีรีมาศ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีลำคลองสองสาย คือ คลองสามพวง และคลองสารบบ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง คือ อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน ดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทานเป็นทำนบดินปิดกั้นระหว่างเขาพระลาดกับเขาปูนยาว ๗๗๐ เมตร สูง ๑๒ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๒๐ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๒๒๐ เมตร มีความบรรจุน้ำได้ ๑๐ ล้านลุกบาศก์เมตร มีระบบส่งน้ำสายใหญ่ ๒ สาย ยาว ๑๒.๘  กิโลเมตร สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้ ๑๕,๐๐๐ ไร่ ใน ๕ ตำบล คือ ตำบลโตนด ตำบลศรีคีรีมาศ ตำบลสามพวง ตำบลทุ่งหลวง และตำบลบ้านป้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ คือ บริเวณเขาหลวงซึ่งอยู่ในท้องที่ตำบลนาเชิงคีรี ตำบลศรีคีรีมาศ และตำบลบ้านน้ำพุ อุดมไปด้วยป่าไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้สัก, ไม้ประดู่ ไม้มะค่า และไม้ไผ่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นแหล่งสมุนไพร ที่บริเวณสวนลุ่มและสวนขวัญ

การคมนาคม  สายหลัก คือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๐๑ (สายกำแพงเพชร – สุโขทัย) และมีทางหลวงชนบท จำนวน ๓ สาย คือ

๑.    สายคีรีมาศ – บ้านด่านลานหอย (แยกเข้าตำบลบ้านน้ำพุ)

๒.    สายคีรีมาศ – กงไกรลาศ (เป็นถนนลาดยางแอสฟัลท์)

๓.    สายคีรีมาศ – ลานกระบือ (เป็นถนนลาดยาง)

นอกจากนี้เป็นถนนเชื่อมติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทุกตำบล หมู่บ้าน รวมระยะทางทุกสายไปท้องที่อำเภอคีรีมาศยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร

การติดต่อระหว่างอำเภอ – จังหวัดสุโขทัย มีรถยนต์โดยสาร จำนวน ๒ สาย

 

แหล่งท่องเที่ยว

       - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (เขาหลวง) เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ ซึ่งชาวสุโขทัยรู้จักในนามของ “เขาหลวง” สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๒๐๐ เมตร มีพื้นที่ ๓๔๑ ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ ด้านทิศตะวันตกในเขตพื้นที่ตำบลศรีคีรีมาศ ตำบลนาเชิงคีรีและตำบลบ้านน้ำพุ ห่างจากอำเภอประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ระยะทางจากเชิงเขาถึงยอดเขา โดยทางเท้า ๔ กิโลเมตร บนยอดเขาหลวงมีทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ มียอดเขา ๔ ยอด คือ เขาเจดีย์ เขานารายณ์ เขาแม่ย่า และเขาภูกา ซึ่งมีหน้าผาสูงชัน เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เดินชมป่าธรรมชาติ และชมพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก

       - ในเขตอุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีน้ำตกใหญ่อยู่ ๓ แห่ง คือ น้ำตกสายรุ้ง น้ำตกลำเกลียว และน้ำตกพรานล้างเนื้อ มีความสวยงามมาก แต่ยังไม่สะดวกในการเดินทาง

       - อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๖ กิโลเมตร ในเขตพื้นที่ตำบลศรีคีรีมาศ

       - ตำบลทุ่งหลวง เป็นแหล่งหัตถกรรมพื้นบ้าน คือ เครื่องปั้นดินเผา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอคีรีมาศ ประมาณ ๔ กิโลเมตร

       โบราณสถานโบราณวัตถุ สิ่งที่เคารพบุชาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านเมือง เนื่องจากในเขตท้องที่อำเภอคีรีมาศ ส่วนหนึ่งเคยเป็นเมืองเก่า สมัยสุโขทัยธานี ดังนั้น จึงปรากฏร่องรอยต่าง ๆ ที่สันนิษฐานว่าได้เกิดและมีมาในสมัยนั้นและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคารพบุชาจองประชาชน

       - ถ้ำพระแม่ย่า อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาร ๒๖ กิโลเมตร ในเขตพื้นที่ตำบลนาเชิงคีรี

       - พระนารายณ์ ประดิษฐานอยู่ในถ้ำพระนารายณ์สี่กร บนยอดเขาสูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกของเขาหลวง

       - รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ในถ้ำพระพุทธบาทบนยอดเขา ในปัจจุบันอยู่ที่วัดศรีคีรีสุวรรณาราม อำเภอคีรีมาศ หงวัดสุโขทัย ชาวบ้านนิยมนมัสการในวันเพ็ญเดือน ๒ ของทุกปี

       -พระพุทธบาทศรีอารยะมุณี เป็นพระพุทธรูปพระประทานทองสัมฤทธิ์บุษบกปางสุโขทัย ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดวาลุการาม (วัดโตนด) ตำบลโตนด อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

 

 

HOME